วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติการจัดดอกไม้





พื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าหาข้ออ้างอิง เพื่อช้ประกอบเป็นหลักฐานทางด้านประวัติผู้ประดิษฐ์คิดนำดอกไม้สด มาใช้ในพิธีเป็นครั้งแรกหรือบุคคลแรก เพื่อไว้เป็นหลักฐานเรื่องราวให้ชนรุ่นหลัง ได้ทราบประวัติความเป็นมารวมทั้งข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษได้นำดอกไม้ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมาใช้อย่างเป็นพิธีการ เช่น นำมาจัดบูชาพระรัตนตรัย นำมาจัดประดับตกแต่งสถานที่ในงานทั่วไปและในพิธีสำคัญ เพื่อให้มีความสดชื่นสวยงาม หรูหราและตื่นตา และเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายของดอกไม้ และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตามหลักฐานที่ได้ศึกษาค้นคว้า ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อปีชวด พ.ศ.2431 ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ได้กล่าว ถึงนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ตกแต่งโคมลอย เพื่อใช้ในพิธีสิบสองเดือนและพระราชพิธีการลอยพระประทีป ซึ่งได้ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด ผลไม้แกะสลัก มาประดับตกแต่งโคมลอยให้มีความสวยงามยิ่งและได้ทรงกล่าวไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือ พระร่วงเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศได้เข้ารับราชการได้คิดอ่านทำกระทงดอกไม้พระเจ้าแผ่นดิน ประดิษฐ์เป็นรูปดอกบัว
จากหลักฐานอ้างอิงได้กล่าวมา น่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีไทยท่านแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อความในประวัติการร้อยลัย (จันทนา สุวรรณมาลี, 2529) ได้เขียนไว้ในหนังสือตอนหนึ่งว่า “บรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อสียงในงานด้านศิลป์อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำดอกไม้สดมาประดิษฐ์เป็นพวงดอกไม้และนำมาประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย ได้สวยงามของนางนพมาศแล้ว” ยังมีหลักฐานได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ในเดือนเมษายน มีพระราชพิธีสนามใหญ่ บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดี เข้าเฝ้าบังคมพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเป็นเครื่องบรรณาการ พระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และในครั้งนั้นนางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นเป็นระย้าสองชั้น งดงามใส่ลงในพานขันหมากเมี่ยงแล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกชั้นหนึ่ง ดูเป็นที่เจริญตาและถูกฤดูกาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับสนามใหญ่ มีอาวาหมงคลหรือลิลาหมงคล เป็นต้น ในการกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก ดังนี้เรียกว่า พานขันหมาก”










ตัวอย่างการจัดดอกไม้


                          http://learn.wattano.ac.th/elearning/Chapter12.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น