วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล

        อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ( Input Unit )  เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจาก
ผู้สั่งงานและส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล ( Process Unit ) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป 
รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล
( หรือเป็นเลข 0 กับ 1 ) นั่นเอง
     อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ 
1. คีบอร์ด ( Keyboard )แป้นพิมพ์ หรือแผงแป้นอักขระ
           Key board เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็น
ปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีดเป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์
ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป  แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลข
แยกไว้ต่างหากเพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้น
อักขระจะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่
shift )เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัส
ตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส  7  หรือ  8  บิต กล่าวคือ  เมื่อมีการกด
แป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 
          แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ
ตั้งแต่ พ.ศ.  2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระ PCXT ต่อมาในปี
ีพ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่
จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม  84  แป้น เรียกว่า แผงแป้น
อักขระพีซีเอทีและในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆกับการออกเครื่องรุ่น PS/2
โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิมและเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น
รวมเป็น 101 แป้น
 2. เมาส์ ( Mouse )
          เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลเช่นเดียวกับคีย์บอร์ด ทำหน้าที่เลื่อนเคอร์เซอร์ หรือสัญลักษณ์
ตัวชี้เมาส์ ( Mouse Pointer ) บนจอภาพ การเลือก คำสั่งโดยใช้เมาส์จะให้ความสะดวกกว่า
การใช้คีย์บอร์ด 




3. สแกนเนอร์ (Scanner)คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ
แอนะลอกเป็นดิจิตอล  ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง , เรียบเรียง , เก็บรักษา และผลิต
ออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย , ข้อความ , ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ  
4. อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ ( finger scan ) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนถ่าย
ข้อมูลลายนิ้วมือมาเป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อใชัตรวจพิสูจน์บุคคล  เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในทุกวงการ เช่น   ด้านระบบรักษาความปลอดภัย ,   
บันทึกเวลาทำงานรายบุคคล และระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ เป็นต้น
   จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือได้แก่
          1. การพิสูจน์ตัวตน โดยอาศัยหลักการที่ว่าลายนิ้วมือทุกคนมีความแตกต่างกัน
          2. การทดแทนการใช้บัตร เช่น บัตร ATM, Credit card, Smart card


     5. ไมโครโฟน( Microphone )
           ไมโครโฟน Microphone ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงและส่งข้อมูลเข้าเครื่อง
คอมพิวเตอร์ 

  6. กล้องเว็บแคม ( Web cam )
         Web Camera
 หรือ Video Conference เป็น อุปกรณ์ที่สามารถจับภาพเคลื่อนไหว

ของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ และ สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้
ผ่านระบบเครือข่าย Internet เพื่อให้คนอีกฝ่ายหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหวได้เหมือน
อยู่ต่อหน้า เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

7. จอยสติก ( Joystick ) คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง / ซ้ายขวา มีปุ่มบังคับ
ที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักนิยมใช้ควบคุม
โปรแกรมประเภทเกมส์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกมส์ ควบคุมหุ่นยนต์ หรือโปรแกรมประเภท
การออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก

  8. จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)จอภาพระบบไวต่อการ 
สัมผัส(Touch Screen)เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่ง
ที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการแทนการใช้  Mouse  หรือ  Keyboard 
ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำงานให้ตามนั้นหลักการนี้
นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถ
เลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน
หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น 


    9. เครื่องอ่านรหัสแท่ง ( Bar Code Reader ) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1970 โดยจะพิมพ์รหัส
สินค้านั้น ๆ ออกมาในรูปของแถบสีดำและขาว ต่อเนื่องกันไป เรียกว่า รหัสแท่ง (Bar Code) 
จากนั้นจะสามารถใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งอ่านข้อมูลบนแถบ   เพื่อเรียกข้อมูลของรายการ
สินค้านั้น  เช่น  การคิดราคาสินค้าที่เค้าท์เตอร์ชำระเงินในห้างสรรพสินค้า  เป็นต้น
หลักการคือเครื่องจะเรียกข้อมูลออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูล
รายการนั้นแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ   มาตรฐานของบาร์โค้ดที่ใช้กันในปัจจุบัน
จะประกอบด้วยมาตรฐาน UPC (Universal Product Code) และ มาตรฐาน Code 39
( Three of Nine )


การทำงานของคอมพิวเตอร์


เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า Computer ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ
เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด


ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์"


คุณลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 4 ประการ คือ
1. ทำงานโดยอัตโนมัติ ถ้าสังเกตการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะพบว่า อุปกรณ์ทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ได้เข้าไปควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข้อมูล การคำนวณ หรือการพิมพ์ผลลัพธ์

2. ทำงานได้อเนกประสงค์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อเนกประสงค์ เพราะทำงานได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้ เช่น โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมคิดคะแนนสอบของนักเรียน เป็นต้น
3. เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทางด้าน
อิเล็คทรอนิคส์ทั้งสิ้น เช่น ทรานซิสเตอร์ วงจรไอซี ดังนั้นจึงทำงานด้วยความเร็วสูงมาก

4. เป็นระบบดิจิตอล คำว่า ดิจิตอล (Digital) มาจากคำว่า Digit หมายถึง ตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ทำงานโดยใช้ระบบตัวเลข ข้อมูลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายในทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อส่งเข้าเครื่องรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์แล้ว
จะถูกเปลี่ยนเป็นตัวเลขหมด



การทำงานของคอมพิวเตอร์ 
เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

3. แสดงผลลัพธ์ คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ 


                               http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in_1p1.html

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
  • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
  • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
  • หน่วยความจำหลัก
  • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) 
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก



  • ซอฟต์แวร์ (Software)คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์(Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
    ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
  • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmerเป็นต้น
  • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator)เป็นต้น
  • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
  • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น


  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่างข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
    ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง


มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

                                  http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20intro2.htm


ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)


ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) คือ ระบบที่พัฒนามาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ส่วนซอฟแวร์เป็นโปรแกรมที่ทำงารอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำงานตามที่ผู้ใช้กำหนด
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
            ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 5 ส่วนได้แก่
            อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
            หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) มีหน้าที่ในการประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ
            หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะส่งไปยังหน่วยประเมิลผลกลางเพื่อทำการประมวลผลต่อไป เมื่อเปิดเครื่ององคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำก็จะหายไปหมด
            อุปกรณ์แสดงข้อมูล (Output Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแสดงผลต่างๆตัวอย่างที่ใช้กันประจำ ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
            หน่วยความจำสำรอง (Auxiliary Storage) มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยความจำสำรองนี้จะเป็นการจัดเก็บที่ถาวร ข้อมูลจะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ตัวอย่าง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ (Software)
            ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
            ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่ติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช่ได้ด้วย
            ซอฟต์แวร์ประยุกต์
 (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาให้ผู้ใช้ทำงานต่างๆ เช่น พิมพ์งาน วาดภาพ เป็นต้น
 ลักษณะของคอมพิวเตอร์
            ระบบคอมพิวเตอร์นั้น ถ้ามองในด้านลักษณะคอมพิวเตอร์จะสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดั้งนี้
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว และไม่ได้ทำการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ลักษณะแบบ (Time-sharing)เป็นลักษณะที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเรียกว่า Terminal ทุกเครื่องจะส่งคำสั่งที่ต้องการมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เพราะการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางจะต้องมีเวลาในการประมวลคำสั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจาก Terminal ทุกเครื่องในลักษณะแบบ Time-sharing
ลักษณะแบบ (Client/Server)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็น Server คอยดูแลจัดทรัพยากรของระบบทั้งหมด และมีเครื่องClients ต่อเข้าเครื่อง Server โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เครื่อง Server มีอยู่ ตามสิทธิของผู้ใช้แต่ละคน และการประมวลผลจะไม่ทำอยู่บนเครื่องServer แต่จะประมวลที่ Clients แต่ละเครื่องเอง แล้วอาจนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเก็บที่เครื่อง Server
ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)
            ในการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้ใช้จะต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมเรียกว่าซอฟต์แวร์ขึ้นมา ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่ละดับภาษาของเครื่องขึ้นมาจนถึงภาษาธรรมชาติ
            ภาษาเครื่อง (Machine Languages) ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจมากที่สุด ซึ่งจะเป็นลักษณะแบบเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1
            ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Languages) เมื่อคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆและมีผู้ใช้มากขึ้น จึงมีคนมองเห็นว่าการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่องนั้น จะทำให้การพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์เป็นไปได้ช้า จึงได้มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สะดวกยิ่งขึ้น แต่การที่นำโปรแกรมนั้นไปใช้ จะต้องทำการเปลี่ยนภาษาสัญลักษณ์เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ
            ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาสัญลักษณ์อีกทีหนึ่ง แต่จะมีลักษณะที่คล้ายกับภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น การแปลงภาษาระดับให้เป็นภาษาเครื่องนั้นจะมีวิธีการเรียกว่าคอมไฟล์ ภาษาระดับได้แก่ FORTRAN COBOL และ ภาษาC
            ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ภาษาธรรมชาติก็คือภาษาที่มนุษย์พูดกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจได้เลย ในปัจจุบันยังไม่มีคนนิยมใช้กันมากนัก
ขั้นตอนการรันโปรแกรมด้วยภาษา c
            การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา c นั้นมีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้น ดังนี้
1.เขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่างๆของภา c มาเขียนเรียงต่อๆกันจนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ โดยการเขียนจะเป็นตัวอักษร ซึ่งเมื่อเขียนเสร็จก็จะได้เป็น Source Files
2.คอมไฟล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใดๆผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้เรียกว่า คอมไฟล์โปรแกรม ซึ่งจะได้ไฟล์ Object Module ด้วย3.การลิงค์โปรแกรม ในภาษา c นั้นจะมีฟังก์ชั่นต่างๆที่เตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อ คอมไฟล์โปรแกรมเสร็จแล้วไม่มีข้อผิดพลาดใด  ตัวคอมไฟล์ (Compiler) จะทำการดึงโปรแกรมอื่นที่ถูกเรียกใช้จากโปรแกรมที่ทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์
การรันโปนแกรม
            เมื่อทำการลิงค์เสร็จแล้ว โปรแกรมนั้นก็พร้อมที่จะรัน และเมื่อรันโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติงานโปรแกรมนั้นจะถูกโหลดลงสู่หน่วยคำสั่งหลักจากนั้นก็จะทำการรันการกระทำนี้เรียกว่า Loader
การพัฒนาโปรแกรม
            ในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาซักโปรแกรมหนึ่งนั้น ไม่ใช่มาถึงจะเขียนโปรแกรมได้เลย การพัฒนานั้นจะมีขั้นตอนที่เรียกว่า System Development Life Cycle
1.หาความต้องการของระบบ (System Requirements) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง
2.วิเคราะห์ (Analysis) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ผู้ใช้ต้องการได้หรือไม่ถ้าทำได้จะทำได้มากน้อยเพียงใด3.ออกแบบ (Design) คือ เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะใดขั้นตอนต่อมาคือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้การออกแบบอาจจะออกแบบเป็นผังงานก็ได้
4.เขียนโปรแกรม (Code) คือ เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานออกแบบไว้
5.ทดสอบ (System Test) คือเมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่างๆ เช่น ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ ถ้าพบข้อผิดพลาดก็กลับไปทำออกแบบอีกครั้ง
6.ดูแล (Maintenance) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว และผู้ใช้ได้นำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่อจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม
                        http://itd.htc.ac.th/st_it50/it5016/nidz/Web_C/unit2.html

ระบบ (System)


    ระบบ (System)

    ระบบ (อังกฤษ: System, มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน systēma, ในภาษากรีก σύστημα systēma, "ภาพรวมทั้งหมดขององค์ประกอบต่างๆหรือสมาชิกต่างๆที่อยู่ภายใน", ดูเพิ่มเติมได้จากบทความเกี่ยวกับ องค์ประกอบ หรือ "composition"[1]) ระบบ คือชุดของสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ของสิ่งที่มีการดำรงอยู่ที่แตกต่างและ อย่างเป็นอิสระ ที่ได้ถูกควบรวมในรูปแบบบูรณาการทั้งหมด ดังนั้นระบบส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน
    ระบบหนึ่ง อาจเป็น เซ็ตขององค์ประกอบย่อยของเซ็ตใดๆในระบบอื่นๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ ความสัมพันธ์ของเซ็ตนั้นๆ กับ องค์ประกอบย่อยของมัน ต่อ องค์ประกอบย่อย หรือ เซ็ตอื่นๆ หรือ อาจกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งในสภาพแวดล้อมในโลก เรียกว่า ระบบ ที่มีองค์ประกอบต่างๆภายในของมันเอง หรือ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมให้กับ ระบบอื่นๆ หรือ อย่างน้อย ทุกๆสิ่งในโลกนี้ เป็น เซ็ตของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งภายใน "โลก" คือ ระบบโดยรวม นั่นเอง ขอบเขตของการศึกษาเกี่ยวกับ ระบบ ในคุณลักษณะทั่วไป "general properties of systems" จะพบได้ใน ศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ทฤษฎีระบบ,cyberneticsระบบพลวัตอุณหพลศาสตร์ และ complex systems ศาสตร์เหล่านี้ ต่างศึกษาหาคำจำกัดความ หรือ สรุปแนวคิดโดยรวมเกี่ยวกับ คุณสมบัติหรือ คุณลักษณะโดยทั่วไปของ ระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องให้คำจำกัดความโดยไม่ขึ้นอยู่กับ แนวคิดเฉพาะเจาะจง สาขา ชนิด หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

ทฤษฎีระบบ (ทฤษฎีระบบ)

ตัวแบบทฤษฎีระบบ
      ทฤษฎีระบบสามารถแยกออกได้เป็น  2  แนวใหญ่ด้วยกัน  คือ 

      แนวแรก มองในฐานะสิ่งมีชีวิตคล้ายกับทางชีววิทยา (System as organic entity)  ตัวแทนที่เด่นของแนวคิดนี้ในวิชารัฐศาสตร์   ได้แก่  เดวิด  อีสตัน  (David Easton)
     แนวที่สอง  มองระบบในแง่ของโครงสร้าง – หน้าที่  ตัวแทนของแนวความคิดนี้  ได้แก่   เกเบรียล  อัลมอนต์ และคณะ 

1. ทฤษฎีระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต
      เจ้าตำหรับที่นำแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีระบบมีใช้ในวิชาสังคมศาสตร์  คือ  นักสังคมวิทยา ชื่อ  ทัลคอท  พาร์สัน  (Talcott Parsons)  ต่อมานักสังคมศาสตร์รวมทั้งนักรัฐศาสตร์รับเอาแนวความคิดนี้มาใช้  กล่าวโดยสรุป  หัวใจของนักทฤษฎีระบบอยู่ที่การมองสังคมว่าเป็นระบบ (Social system)  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระหว่างระบบใหญ่กับระบบย่อยคล้ายสิ่งมีชีวิต  เช่น  ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กัน

      ในฐานะที่เป็นระบบสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการบางอย่าง (Need) ได้รับการตอบสนอง  เพื่อความอยู่รอดของระบบ  คือ  อยู่ในภาวะดุลยภาพ  ดังนั้น ระบบของสังคมจึงมีฐานะคล้ายกับสิ่งมีชีวิต  คือ  สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้  ถ้าหากความต้องการต่าง  ๆ  ได้รับการตอบสนอง  แต่ถ้าหากความต้องการของสังคมไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควรก็จะทำให้สังคมเกิดภาวะไร้ดุลยภาพ  คือ  เสียศูนย์ระบบก็เสื่อมสลายไปในที่สุด

      เดวิด  อีสตัน  เป็นตัวแกนของกลุ่มที่มองระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต  และเป็นคนแรกที่นำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์  ความหวังของ อีสตัน อยู่ที่การสร้างทฤษฎีทางการเมืองที่เป็นมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของนักรัฐศาสตร์ทั่วไป
ทฤษฎีของเดวิด  อีสตัน  เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  ในหมู่นักรัฐศาสตร์

           สภาพแวดล้อม  (Environment)  หมายถึง  สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อระบบการเมือง

           สิ่งที่ใส่เข้าไปในระบบการเมือง  (Inputs)  แยกเป็นข้อเรียกร้องที่มีต่อระบบ  (Demand)  และการยอมรับหรือการสนับสนุนที่สมาชิกมีต่อระบบ (Support)
         ระบบการเมือง  (Political system)  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางการเมืองรวมตลอดถึงสถาบันและโครงสร้างทางการเมืองที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรสิ่งที่มีค่าในสังคม

           ผลลัพธ์ที่ออกมาจากการทำงานของระบบการเมือง  (Output)  เช่น  นโยบาย  การตัดสินใจ  การดำเนินการต่าง  ๆ  ของรัฐบาล

           ข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback)  หมายถึง  ผลสะท้อนอันเนื่องมาจากการทำงานของระบบการเมืองอันจะนำไปสู่การสนับสนุน  หรือการตั้งข้อเรียกร้องใหม่ต่อระบบการเมือง  ถ้าระบบการเมืองสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องต่าง ๆ  ได้  ก็จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก  ระบบก็อยู่รอด  หากเป็นไปในทางตรงกันข้ามระบบก็เสื่อมสลายไป  

2. ทฤษฎีระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่    ในทางรัฐศาสตร์  ตัวแทนของแนวความคิดที่มองระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่  ได้แก่  เกเบรียล  อัลมอนด์  ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่  ของเขาไม่แตกต่างอะไรไปจากทฤษฎีระบบของอีสตัน  กล่าวคือ  ยังมองการทำงานของระบบการเมืองในแง่ของ  “สิ่งที่เข้าไปในระบบกับสิ่งที่ออกมา”  (Inputs-Outputs)  แต่อัลมอนด์ให้ความสำคัญกับหน้าที่และภารกิจของระบบการเมืองมากกว่าอีสตัน  โดยเขาเห็นว่าหน้าที่เป็นตัวกำหนดโครงสร้างในระบบการเมืองหนึ่ง  (จุดนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก  เพราะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างอัลมอนด์กับเฟรด ริกส์ )  การให้ความสำคัญในหน้าที่มากกว่าโครงสร้าง  ทำให้อัลมอนด์เรียกวิธีการศึกษาของเขาว่า “The functional approach  to  comparative  political” 

      อัลมอนด์มีความคิดเห็นว่า  หน้าที่ที่สำคัญของการเมืองหนึ่ง  ๆ  ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่  ๆ  และเวลาศึกษาเปรียบเทียบระบบการเมืองนั้นก็จะเปรียบเทียบหน้าที่หลัก 3  กลุ่มนี้  ว่าของใครทำงานได้ตรงตามหน้าที่มากกว่ากัน

      ก.หน้าที่ทางการเมืองหรือส่วนที่นำเข้าไป  (political  or Input functional)  ประกอบไปด้วย 

              1.  การให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน  เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและต้องการเข้ามา  มีส่วนร่วมทางการเมือง (political  socialization  and  recruitment)
              2.  การให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางการเมือง  เพื่อป้องกันประโยชน์ของประชาชน ( Interest  articulation)
              3.  การรวมตัวของประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน  ในรูปของกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง  ( Interest  aggregation) 
              4.  การคมนาคมติดต่อสื่อสาร  เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองของประชาชน (political  comumication)

      ข. หน้าที่ของรัฐบาลหรือส่วนที่ออกมา  (Govermmant  or  output functional )  ประกอบไปด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ข้องบังคับต่าง  ๆ  (Rule-making)  การบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น  (Rule-application)  และการพิจารณาตัดสินให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นั้น  ๆ  (Rule-adjudication)

      ค.  หน้าที่เกี่ยวกับความสามารถของระบบการเมือง  (Capability functional)  ประกอบด้วย

   - การปกป้องรักษาและการปรับตัวของระบบการเมือง  (Maintenance  and  adaptation) 
   - กระบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่นำเข้าให้เป็นผลออกมา  (Conversion) 
   - ความสามารถอื่น  ๆ  เช่นความสามารถในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ความ สามารถในการสกัดเอาทรัพยากรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถในการแจกจ่ายและตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชน  รวมตลอดถึงความสามารถในเชิงสัญลักษณ์  เพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน 

                                  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=257.0

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Hardware

ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)       หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว
หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit)       หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

หน่วยแสดงผล (Output Unit)       หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น

หน่วยความจำ (Memory Unit)
      หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น
หน่วยความจำสำรอง (Storage Unit)       หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น

แผงวงจรหลัก (Mainboard)
      แผงวงจรหลัก หรือนิยมเรียกว่าแผงเมนบอร์ด คือแผงวงจร ที่ติดตั้งภายในเคสของคอมพิวเตอร์ แผงเมนบอร์ดเป็นที่ติดตั้งอุปกร์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมต่อถึงกัน เป็นที่ติดตั้งซีพียู หน่วยความจำรอม หน่วยความจำแรม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ และพอร์ตเชื่อมต่อออกไปภายนอก แผงวงจรนี้เป็นแผงวงจรหลัก ที่เชื่อมโยงไปยังหน่วยป้อนข้อมูล และหน่วยแสดงผล




https://sites.google.com/site/yinditxnrab2553/khwam-hmay-khxng-hardware

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติการจัดดอกไม้





พื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าหาข้ออ้างอิง เพื่อช้ประกอบเป็นหลักฐานทางด้านประวัติผู้ประดิษฐ์คิดนำดอกไม้สด มาใช้ในพิธีเป็นครั้งแรกหรือบุคคลแรก เพื่อไว้เป็นหลักฐานเรื่องราวให้ชนรุ่นหลัง ได้ทราบประวัติความเป็นมารวมทั้งข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษได้นำดอกไม้ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมาใช้อย่างเป็นพิธีการ เช่น นำมาจัดบูชาพระรัตนตรัย นำมาจัดประดับตกแต่งสถานที่ในงานทั่วไปและในพิธีสำคัญ เพื่อให้มีความสดชื่นสวยงาม หรูหราและตื่นตา และเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายของดอกไม้ และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ตามหลักฐานที่ได้ศึกษาค้นคว้า ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อปีชวด พ.ศ.2431 ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ได้กล่าว ถึงนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ตกแต่งโคมลอย เพื่อใช้ในพิธีสิบสองเดือนและพระราชพิธีการลอยพระประทีป ซึ่งได้ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด ผลไม้แกะสลัก มาประดับตกแต่งโคมลอยให้มีความสวยงามยิ่งและได้ทรงกล่าวไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือ พระร่วงเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศได้เข้ารับราชการได้คิดอ่านทำกระทงดอกไม้พระเจ้าแผ่นดิน ประดิษฐ์เป็นรูปดอกบัว
จากหลักฐานอ้างอิงได้กล่าวมา น่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีไทยท่านแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ข้อความในประวัติการร้อยลัย (จันทนา สุวรรณมาลี, 2529) ได้เขียนไว้ในหนังสือตอนหนึ่งว่า “บรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อสียงในงานด้านศิลป์อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำดอกไม้สดมาประดิษฐ์เป็นพวงดอกไม้และนำมาประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย ได้สวยงามของนางนพมาศแล้ว” ยังมีหลักฐานได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ในเดือนเมษายน มีพระราชพิธีสนามใหญ่ บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดี เข้าเฝ้าบังคมพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเป็นเครื่องบรรณาการ พระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และในครั้งนั้นนางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นเป็นระย้าสองชั้น งดงามใส่ลงในพานขันหมากเมี่ยงแล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกชั้นหนึ่ง ดูเป็นที่เจริญตาและถูกฤดูกาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับสนามใหญ่ มีอาวาหมงคลหรือลิลาหมงคล เป็นต้น ในการกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก ดังนี้เรียกว่า พานขันหมาก”










ตัวอย่างการจัดดอกไม้


                          http://learn.wattano.ac.th/elearning/Chapter12.html