วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล

        อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ( Input Unit )  เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจาก
ผู้สั่งงานและส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล ( Process Unit ) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป 
รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล
( หรือเป็นเลข 0 กับ 1 ) นั่นเอง
     อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ 
1. คีบอร์ด ( Keyboard )แป้นพิมพ์ หรือแผงแป้นอักขระ
           Key board เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็น
ปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีดเป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์
ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป  แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลข
แยกไว้ต่างหากเพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้น
อักขระจะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่
shift )เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัส
ตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส  7  หรือ  8  บิต กล่าวคือ  เมื่อมีการกด
แป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 
          แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ
ตั้งแต่ พ.ศ.  2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระ PCXT ต่อมาในปี
ีพ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่
จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม  84  แป้น เรียกว่า แผงแป้น
อักขระพีซีเอทีและในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆกับการออกเครื่องรุ่น PS/2
โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิมและเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น
รวมเป็น 101 แป้น
 2. เมาส์ ( Mouse )
          เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลเช่นเดียวกับคีย์บอร์ด ทำหน้าที่เลื่อนเคอร์เซอร์ หรือสัญลักษณ์
ตัวชี้เมาส์ ( Mouse Pointer ) บนจอภาพ การเลือก คำสั่งโดยใช้เมาส์จะให้ความสะดวกกว่า
การใช้คีย์บอร์ด 




3. สแกนเนอร์ (Scanner)คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ
แอนะลอกเป็นดิจิตอล  ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง , เรียบเรียง , เก็บรักษา และผลิต
ออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย , ข้อความ , ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ  
4. อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ ( finger scan ) เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนถ่าย
ข้อมูลลายนิ้วมือมาเป็นข้อมูลดิจิทัลเพื่อใชัตรวจพิสูจน์บุคคล  เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในทุกวงการ เช่น   ด้านระบบรักษาความปลอดภัย ,   
บันทึกเวลาทำงานรายบุคคล และระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฏร์ เป็นต้น
   จุดประสงค์หลักของการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือได้แก่
          1. การพิสูจน์ตัวตน โดยอาศัยหลักการที่ว่าลายนิ้วมือทุกคนมีความแตกต่างกัน
          2. การทดแทนการใช้บัตร เช่น บัตร ATM, Credit card, Smart card


     5. ไมโครโฟน( Microphone )
           ไมโครโฟน Microphone ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงและส่งข้อมูลเข้าเครื่อง
คอมพิวเตอร์ 

  6. กล้องเว็บแคม ( Web cam )
         Web Camera
 หรือ Video Conference เป็น อุปกรณ์ที่สามารถจับภาพเคลื่อนไหว

ของเราไปปรากฏในหน้าจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ และ สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวนี้
ผ่านระบบเครือข่าย Internet เพื่อให้คนอีกฝ่ายหนึ่งสามารถเห็นตัวเราเคลื่อนไหวได้เหมือน
อยู่ต่อหน้า เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

7. จอยสติก ( Joystick ) คือ อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง / ซ้ายขวา มีปุ่มบังคับ
ที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักนิยมใช้ควบคุม
โปรแกรมประเภทเกมส์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกมส์ ควบคุมหุ่นยนต์ หรือโปรแกรมประเภท
การออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก

  8. จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)จอภาพระบบไวต่อการ 
สัมผัส(Touch Screen)เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่ง
ที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการแทนการใช้  Mouse  หรือ  Keyboard 
ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำงานให้ตามนั้นหลักการนี้
นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถ
เลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน
หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น 


    9. เครื่องอ่านรหัสแท่ง ( Bar Code Reader ) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1970 โดยจะพิมพ์รหัส
สินค้านั้น ๆ ออกมาในรูปของแถบสีดำและขาว ต่อเนื่องกันไป เรียกว่า รหัสแท่ง (Bar Code) 
จากนั้นจะสามารถใช้เครื่องอ่านรหัสแท่งอ่านข้อมูลบนแถบ   เพื่อเรียกข้อมูลของรายการ
สินค้านั้น  เช่น  การคิดราคาสินค้าที่เค้าท์เตอร์ชำระเงินในห้างสรรพสินค้า  เป็นต้น
หลักการคือเครื่องจะเรียกข้อมูลออกมาจากฐานข้อมูล แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูล
รายการนั้นแล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ   มาตรฐานของบาร์โค้ดที่ใช้กันในปัจจุบัน
จะประกอบด้วยมาตรฐาน UPC (Universal Product Code) และ มาตรฐาน Code 39
( Three of Nine )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น