วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีระบบ (ทฤษฎีระบบ)

ตัวแบบทฤษฎีระบบ
      ทฤษฎีระบบสามารถแยกออกได้เป็น  2  แนวใหญ่ด้วยกัน  คือ 

      แนวแรก มองในฐานะสิ่งมีชีวิตคล้ายกับทางชีววิทยา (System as organic entity)  ตัวแทนที่เด่นของแนวคิดนี้ในวิชารัฐศาสตร์   ได้แก่  เดวิด  อีสตัน  (David Easton)
     แนวที่สอง  มองระบบในแง่ของโครงสร้าง – หน้าที่  ตัวแทนของแนวความคิดนี้  ได้แก่   เกเบรียล  อัลมอนต์ และคณะ 

1. ทฤษฎีระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต
      เจ้าตำหรับที่นำแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีระบบมีใช้ในวิชาสังคมศาสตร์  คือ  นักสังคมวิทยา ชื่อ  ทัลคอท  พาร์สัน  (Talcott Parsons)  ต่อมานักสังคมศาสตร์รวมทั้งนักรัฐศาสตร์รับเอาแนวความคิดนี้มาใช้  กล่าวโดยสรุป  หัวใจของนักทฤษฎีระบบอยู่ที่การมองสังคมว่าเป็นระบบ (Social system)  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระหว่างระบบใหญ่กับระบบย่อยคล้ายสิ่งมีชีวิต  เช่น  ร่างกายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กัน

      ในฐานะที่เป็นระบบสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการบางอย่าง (Need) ได้รับการตอบสนอง  เพื่อความอยู่รอดของระบบ  คือ  อยู่ในภาวะดุลยภาพ  ดังนั้น ระบบของสังคมจึงมีฐานะคล้ายกับสิ่งมีชีวิต  คือ  สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้  ถ้าหากความต้องการต่าง  ๆ  ได้รับการตอบสนอง  แต่ถ้าหากความต้องการของสังคมไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควรก็จะทำให้สังคมเกิดภาวะไร้ดุลยภาพ  คือ  เสียศูนย์ระบบก็เสื่อมสลายไปในที่สุด

      เดวิด  อีสตัน  เป็นตัวแกนของกลุ่มที่มองระบบในฐานะสิ่งมีชีวิต  และเป็นคนแรกที่นำเอาทฤษฎีระบบมาใช้ในการศึกษาวิชารัฐศาสตร์  ความหวังของ อีสตัน อยู่ที่การสร้างทฤษฎีทางการเมืองที่เป็นมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของนักรัฐศาสตร์ทั่วไป
ทฤษฎีของเดวิด  อีสตัน  เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย  ในหมู่นักรัฐศาสตร์

           สภาพแวดล้อม  (Environment)  หมายถึง  สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อระบบการเมือง

           สิ่งที่ใส่เข้าไปในระบบการเมือง  (Inputs)  แยกเป็นข้อเรียกร้องที่มีต่อระบบ  (Demand)  และการยอมรับหรือการสนับสนุนที่สมาชิกมีต่อระบบ (Support)
         ระบบการเมือง  (Political system)  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางการเมืองรวมตลอดถึงสถาบันและโครงสร้างทางการเมืองที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรสิ่งที่มีค่าในสังคม

           ผลลัพธ์ที่ออกมาจากการทำงานของระบบการเมือง  (Output)  เช่น  นโยบาย  การตัดสินใจ  การดำเนินการต่าง  ๆ  ของรัฐบาล

           ข้อมูลย้อนกลับ  (Feedback)  หมายถึง  ผลสะท้อนอันเนื่องมาจากการทำงานของระบบการเมืองอันจะนำไปสู่การสนับสนุน  หรือการตั้งข้อเรียกร้องใหม่ต่อระบบการเมือง  ถ้าระบบการเมืองสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องต่าง ๆ  ได้  ก็จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิก  ระบบก็อยู่รอด  หากเป็นไปในทางตรงกันข้ามระบบก็เสื่อมสลายไป  

2. ทฤษฎีระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่    ในทางรัฐศาสตร์  ตัวแทนของแนวความคิดที่มองระบบในแง่ของโครงสร้าง-หน้าที่  ได้แก่  เกเบรียล  อัลมอนด์  ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่  ของเขาไม่แตกต่างอะไรไปจากทฤษฎีระบบของอีสตัน  กล่าวคือ  ยังมองการทำงานของระบบการเมืองในแง่ของ  “สิ่งที่เข้าไปในระบบกับสิ่งที่ออกมา”  (Inputs-Outputs)  แต่อัลมอนด์ให้ความสำคัญกับหน้าที่และภารกิจของระบบการเมืองมากกว่าอีสตัน  โดยเขาเห็นว่าหน้าที่เป็นตัวกำหนดโครงสร้างในระบบการเมืองหนึ่ง  (จุดนี้ถือว่ามีความสำคัญมาก  เพราะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างอัลมอนด์กับเฟรด ริกส์ )  การให้ความสำคัญในหน้าที่มากกว่าโครงสร้าง  ทำให้อัลมอนด์เรียกวิธีการศึกษาของเขาว่า “The functional approach  to  comparative  political” 

      อัลมอนด์มีความคิดเห็นว่า  หน้าที่ที่สำคัญของการเมืองหนึ่ง  ๆ  ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่  ๆ  และเวลาศึกษาเปรียบเทียบระบบการเมืองนั้นก็จะเปรียบเทียบหน้าที่หลัก 3  กลุ่มนี้  ว่าของใครทำงานได้ตรงตามหน้าที่มากกว่ากัน

      ก.หน้าที่ทางการเมืองหรือส่วนที่นำเข้าไป  (political  or Input functional)  ประกอบไปด้วย 

              1.  การให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน  เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและต้องการเข้ามา  มีส่วนร่วมทางการเมือง (political  socialization  and  recruitment)
              2.  การให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางการเมือง  เพื่อป้องกันประโยชน์ของประชาชน ( Interest  articulation)
              3.  การรวมตัวของประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน  ในรูปของกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมือง  ( Interest  aggregation) 
              4.  การคมนาคมติดต่อสื่อสาร  เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองของประชาชน (political  comumication)

      ข. หน้าที่ของรัฐบาลหรือส่วนที่ออกมา  (Govermmant  or  output functional )  ประกอบไปด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ข้องบังคับต่าง  ๆ  (Rule-making)  การบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น  (Rule-application)  และการพิจารณาตัดสินให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์นั้น  ๆ  (Rule-adjudication)

      ค.  หน้าที่เกี่ยวกับความสามารถของระบบการเมือง  (Capability functional)  ประกอบด้วย

   - การปกป้องรักษาและการปรับตัวของระบบการเมือง  (Maintenance  and  adaptation) 
   - กระบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่นำเข้าให้เป็นผลออกมา  (Conversion) 
   - ความสามารถอื่น  ๆ  เช่นความสามารถในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ความ สามารถในการสกัดเอาทรัพยากรมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถในการแจกจ่ายและตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชน  รวมตลอดถึงความสามารถในเชิงสัญลักษณ์  เพื่อสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน 

                                  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=257.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น